มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งทะยอยออกมารวม 25 มาตรการในตลอดระยะไม่นานหลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง มีทั้งมาตรการด้านภาษี และการอัดฉีดไปยังครัวเรือนหวังเพื่อกระตุ้นการบริโภค รวมเม็ดเงิน155,000 ล้านบาท นับว่าเป็นความฉับไวที่ได้เห็นถึงหนทางที่จะเยี่ยวยาเศรษฐกิจของไทย ที่ทรุดอยู่ในทุกวันนี้
ลองมาย้อนดูซิว่า 25 มาตรการนั้นมีอะไรบ้าง
1. โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยจัดสรรเงินให้ผู้ประกันตน และข้าราชการที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 14,000 บาทต่อเดือน ได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 2,000 บาทครั้งเดียวเมื่องบประมาณผ่านสภา เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 8 ล้านคน และข้าราชการ 1.45 ล้านคน วงเงินรวม 18,970.4 ล้านบาท
2. โครงการช่วยเหลือคนตกงาน โดยการจัดอบรมผู้ว่างงานเพื่อเพิ่มศักยภาพ เป็นเวลา 6 เดือน ขณะ อบรมได้เงินช่วยเหลือยังชีพเดือนละ 5,000 บาทต่อเดือน วงเงินงบประมาณ 6,900 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ว่างงาน 240,000 คน ก่อนขยายเพิ่มในงบประมาณปี 2553 ให้ครบ 500,000 คน
3. โครงการเรียนฟรีจริง 15 ปีตั้งแต่อนุบาล-ม.6 ฟรีค่าเทอม เสื้อผ้า ตำราเรียน และอุปกรณ์การศึกษา ใช้งบประมาณ 19,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียน
4. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สานต่อกองทุนเอสเอ็มแอล เพื่อสร้างงานและวางรากฐานในชนบท
5. ต่ออายุโครงการ 6 เดือน 5 มาตรการ ทั้งน้ำ-ไฟ-รถเมล์-รถไฟ ที่จะต่ออายุออกไปอีก 6 เดือน แต่ปรับลดการใช้นำประปาฟรี เหลือเดือนละ 30 ลบ. เมตร และใช้ไฟฟ้าฟรีไม่เกินเดือนละ 90 หน่วย ใช้งบ 11,409.2 ล้านบาท
6. โครงการช่วยเหลือเงินยังชีพคนชรา โดยช่วยเหลือคนชราอายุเกิน 60 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการ คนละ 500 บาทต่อเดือน จำนวน 3 ล้านคน รวมเป็นทั้งระบบช่วยเหลือ 5 ล้านคน ใช้งบ ประมาณ 9,000 ล้านบาท
7. ช่วยเหลือค่าครองชีพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คนละ 600 บาทต่อเดือน ครอบคลุม 834,075 คน งบประมาณ 3,000 ล้านบาท
8. โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2,000 ล้านบาท
9. โครงการถนนปลอดฝุ่น ลาดยางทางในชนบท ระยะทาง 490 กม. 1,500 ล้านบาท
10. โครงการจำหน่วยสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนรายได้น้อย โดยกระทรวงพาณิชย์ มีเป้าหมายทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนไม่ เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งโครงการธงฟ้าลดค่าครอง ชีพวงเงิน 1,000 ล้านบาท
11. โครงการปรับปรุงสถานีอนามัยในชนบท วงเงิน 1,095.8 ล้านบาท
12. โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้กับช้าราชการตำรวจชั้นประทวน 532 แห่ง แห่งละ 3.4 ล้านบาท เป็นเงิน 1,808.8 ล้านบาท
13. โครงการลดผลกระทบธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศ การสนับสนุนส่งเสริมให้ส่วนราชการจัดสัมมนาต่างจังหวัด รวมทั้งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 1,000 ล้านบาท
14. โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจขนาดกลางและขยาดย่อม (เอสเอ็มอี) 500 ล้านบาท
15. โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ความมั่นใจกับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 325 ล้านบาท
16. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขุดลอกคูคลอง 760 ล้านบาท
17. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 2,391.3 ล้านบาท สุดท้าย
18. เป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 19,139.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ที่เมื่อง่ายเงินคงคลังไปก่อนจะต้องตั้งงบชดเชยคืน ซึ่งกรณีนี้เป็นรายการแถมที่ไม่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ
19. มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ยกเว้นภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่ และโอนกรรมสิทธิ์ภายในปี 2552 นำเงินต้นลดหย่อนภาษีไม่เกิน 300,000 บาท และนำดอกเบี้ยเงินกู้หักลดหย่อนอีก 100,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท และต่ออายุค่าธรรมเนียมการโอนธุรกิจเฉพาะและภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถึงเดือนมีนาคม 2553 เนื่องจากต้องการให้มีการตัดสินใจซื้อบ้านในปี 2552 เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อออกสู่ระบบมากขึ้น และจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการซื้อขายบ้านใหม่ 100,000 หน่วย โดยรัฐสูญรายได้จากมาตรการนี้ ค่าธรรมเนียมการโอน ธุรกิจเฉพาะ และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 30,000 ล้านบาท และภาษีอากรรายได้บุคคลธรรมดา 6,500 ล้านบาท
20.ภาษีช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการขยายวงเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีร้อยละ0.5 จากเดิม 60,000 บาท เพิ่มเป็น 1 ล้านบาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชนและเอสเอ็มอี เท่ากับเป็นการยกเว้นภาษีจาก 300 บาท/ปี เป็นกว่า 5,000 บาท/ปี ครอบคลุมเอสเอ็มอี 97,000 ราย โดยคาดรัฐสูญเสียรายได้ 1,400 ล้านบาท
21.การช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชน ด้วยการเพิ่มวงเงินรายได้ยกเว้นภาษีจาก 1.2 ล้านบาท เป็น 1.8 ล้านบาท/ปี ให้เฉพาะปีภาษี 52-53 เท่านั้น เพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชน และสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน 58,000 แห่ง คาดว่ารัฐสูญรายได้ 200 ล้านบาท
22. มาตรการช่วยเหลือการท่องเที่ยว โดยให้บริษัทห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ สามารถนำรายได้จากการสัมมนาค่าฝึกอบรมไปคำนวณหักภาษี 2 เท่าของที่จ่ายจริง ใช้สำหรับรอบบัญชีปี 52 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับโรงแรมร้านค้า บริษัททัวร์ โดยคาดว่าภาครัฐสูญรายได้ 1,800 ล้านบาท
23.มาตรการเงิน ร่วมลงทุน เพื่อเป็นการช่วยเหลือกองทุนร่วมลงทุน (เวนเจอร์แคปปิตอล ฟันด์) สำหรับนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียน เพื่อประโยชน์ด้านภาษี จากกำหนดเวลาได้ประโยชน์ในสิ้นปี 51 ขยายเป็นสิ้นปี 54 โดยยกเลิกเงื่อนไขที่บริษัทร่วมลงทุนต้องลงทุนร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียนในปีแรก และยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผลประโยชน์ของการโอนหุ้นของเอสเอ็มอี เพื่อให้เป็นแหล่งทุนระยะยาวของเอสเอ็มอี และสนับสนุนให้กระจายหุ้นในตลาดหลัดทรัพย์เอ็ม เอ ไอ
24.มาตรการทาง ภาษีสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นภาษีเงินได้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้า หนี้อื่น โดยเจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากการปลดหนี้ดังกล่าวมาลดหย่อน โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ยังยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์การขายสินค้า และผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ โดยลูกหนี้ต้องนำเงินที่ได้ไปชำระแก่เจ้าหนี้ จากการโอนสินทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนอง เป็นหลักประกันการกู้ให้แก่ผู้อื่น ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้รองรับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ
25. มาตรการเกี่ยวกับการโอนกิจการบางส่วนด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ์ และนิติกรรม กรมที่ดินที่เกิดจากการโอนกิจการบางส่วนให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัท มหาชนหรือบริษัทจำกัด โดยต้องโอนให้เสร็จภายในสิ้นปี 52 ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดการปรับโครงสร้างองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ ลดภาระค่าใช้จ่าย
อะไรบ้าง.....ที่ยังขาดอยู่
155,000 ล้านบาท ดูเหมือนจะมาก แต่มาตรการเหล่านี้ ถ้าดูว่าส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร....และภาคส่วนใด......จะเห็นได้ชัดเจนว่า น่าจะเป็นการหวังผลได้แค่การสร้างความเชื่อมั่น และกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เท่านั้น
แต่แท้ที่จริงผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ หรือที่เรามักคุ้นว่า GDP นั้น มากกว่าครึ่งมาจากการส่งออก ที่แต่ละปีมีมูลค่าถึง 178,000 ล้านเหรียญฯ และยิ่งถ้ารวมรายได้ที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติแล้ว น่าจะเกินกว่า 70% ของ GDP ด้วยซ้ำไป
แต่ 25 มาตรการเหล่านั้นแทบไม่ได้มีส่วนส่งเสริมกิจกรรมที่มีผลต่อ GDP เลย...........จึงไม่แปลกใจที่มีหลายกูรูทางเศรษฐกิจออกมาทำนายเศรษฐกิจไทย ปี 52 ว่าจะติดลบมากที่สุดถึง -4%
ตอนนี้คงยังไม่สายครับรัฐบาล อภิสิทธิ์1..........ที่จะเร่งออกมาตรการส่งเสริมกิจกรรมอันจะมีผลทางการ เติบโตทางเศรษฐกิจแพ็คเกจสอง ซึ่งควรเป็นมาตรการส่งเสริมการส่งออก ด้วยการสร้างโอกาสทางการตลาดในต่างประเทศที่เป็นตลาดใหม่ การเปิดคอขวดในระบบราชการที่กีดขวางการส่งออก การสนับสนุนสิทธิประโยชน์(ที่เป็นรูปธรรม)แก่ภาคธุรกิจที่ไม่ปลดพนักงาน การสนับสนุนเงินทุนผ่านสถาบันการเงินแก่ภาคธุรกิจที่ขาดแคลนเงินทุนหมุน เวียน มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวช่าวต่างประเทศ และที่สำคัญลองฟังเสียงจากภาคเอกชน...ซึ่งน่าจะมีข้อมูลดีๆ...และช่วยท่าน ให้ทำงานราบรื่นขึ้น.................
และที่จะลืมไม่ได้......การลง ทุนโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผน.....แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ เพราะมาตรการกระติ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านี้ น่าจะเป็นเฟืองหลักที่มีผลต่อตัวเลข GDP
Thank you for...ข้อมูลจาก...www.talkystory.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น